ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร ?
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินสินไหมที่ทางบริษัทประกันภัยของผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะมีหน้าที่รับผิดชอบแทนตัวผู้ขับขี่ต่อคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก ในระหว่างที่รถยนต์ต้องเข้าซ่อมหรือไม่สามารถใช้งานรถยนต์ได้โดยผู้ที่เป็นฝ่ายถูกสามารถนำบิล ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าแท็กซี่, ค่ารถเมล์ หรือค่ารถไฟฟ้า ในระหว่างที่ใช้งานรถยนต์ไม่ได้ มาทำเรื่องเบิกกับบริษัทประกันของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้ ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ 2565 ของรถยนต์แต่ละประเภทไว้ ซึ่งหากเราเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากประกันภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1-3) ได้ดังนี้ |
ขั้นตอนการขอค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
1. ติดต่อบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (ฝ่ายผิด) จากนั้นให้ยืนยันคำเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ในช่วงเวลาที่รถของคุณกำลังซ่อมอยู่ 2. เมื่อบริษัทของคู่กรณีแจ้งเอกสารที่ต้องการมา ให้คุณนำเอกสารต่างๆ จัดส่งไปยังบริษัทของคู่กรณีเพื่อดำเนินการต่อ 3. รอบริษัทคู่กรณีติดต่อกลับมา เนื่องจากต้องเช็กข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าต้องชดเชยให้กับคุณเท่าไร ทำการประเมิน และเจรจาต่อรอง 4. หลังจากตกลงกันเสร็จเรียบร้อย ก็รอรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ภายใน 7 วัน |
เอกสารที่จำเป็นในการเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
1. ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์ 2. ใบเคลม (ใบรับรองความเสียหายต่อทรัพย์สิน) 3. สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ 4. สำเนาทะเบียนรถยนต์ 5. สำเนาใบขับขี่รถยนต์ 6. สำเนาบัตรประชาชน 7. ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ 8. รูปถ่ายตอนซ่อม 9. รูปถ่ายความเสียหาย 10. หนังสือเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม 11. สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารของผู้เอาประกัน |
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เรียกได้เท่าไร
การเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมีอัตราขั้นต่ำของการเรียกค่าชดใช้ ตามประกาศ คปภ. วันที่ 1 มกราคม 2562 เพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยเจรจาจ่ายในจำนวนที่ต่ำเกินไป ดังนี้
2. รถยนต์รับจ้างสาธารณะที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท 3. รถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 7 คน (รวมผู้ขับขี่) อัตราชดเชยไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท * รถประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่รถยนต์ในข้อ 1-3 เช่น “รถจักรยานยนต์” ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณีไป |