ภาษีรถยนต์คืออะไร

 

 

ภาษีรถยนต์คืออะไร ?

คนขับรถหลายคนยังคงสับสนและปวดหัวอยู่ตลอด เพราะนอกจะสับสนกับพรบ.รถยนต์ที่ต้องต่อทุกปีแล้ว
ก็คือเรื่องภาษีรถยนต์ ที่จะต้องเตรียมเงินและเอกสารต่างๆ ไปยื่นที่กรมขนส่งเพื่อทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์
หรือต่อทะเบียนรถยนต์นั่นเอง 

ภาษีรถยนต์ คือ ป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่ผู้มีรถยนต์จะต้องจ่ายภาษีรถยนต์ตามที่กฎหมายบังคับ
เมื่อถึงกำหนดชำระ ซึ่งภาษีรถยนต์ที่เราชำระไปทุกปีนั้นทางหน่วยงานภาครัฐจะนำไปพัฒนาปรับปรุงถนน
รวมไปถึงการคมนาคมภายในประเทศต่อไป ถ้าหากปล่อยขาดอาจทำให้ถูกปรับและเสียเวลาในการดำเนินการต่ออีกด้วย


สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์

1. การต่อภาษีรถยนต์แต่ละครั้งจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์ในปีที่หมดอายุ โดยคุณสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ก่อนวันที่จะหมดอายุล่วงหน้า 90 วัน
ซึ่งก็มีเวลาเพียงพอให้คุณสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ได้พอสมควร 

2. กรณีที่ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้ากว่าที่กำหนด ค่าปรับก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยนับตั้งแต่วันที่ขาด 1 วันขึ้นไป
ทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการขาดต่อภาษีรถยนต์ซึ่งนับเวลาตั้งแต่ 1-3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 % ต่อเดือน 

3. กรณีที่ขาดต่อภาษีรถยนต์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป จะถือว่าป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นๆ ถูกยกเลิกทันที
หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนที่กรมขนส่งทางบก พร้อมกับชำระค่าปรับ จึงจะสามารถทำใหม่ได้

4. สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ทุกครั้ง รถยนต์ที่มีอายุไม่ถึง 7 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ
แต่หากรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถให้ครบก่อน ถึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ 

5. สิ่งสำคัญที่ห้ามลืมเด็ดขาดคือคุณจะต้องต่อพรบรถยนต์ หรือที่เรียกว่าประกันภาคบังคับก่อน ถึงจะทำการต่อภาษีรถยนต์ได้


ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง ต่อภาษีได้ที่ไหนบ้าง ?

เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนไปยื่นต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้
1. คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนาก็ได้
2. หลักฐานที่ระบุไว้ว่าได้ทำประกันภัยตามที่กฎหมายบังคับ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า พ.ร.บ. รถยนต์
3. ใบรับรองการตรวจสอบสภาพรถยนต์ หากรถยนต์มีอายุเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป รวมไปถึงในกรณีที่รถมีการดัดแปลงสภาพ

สามารถต่อภาษีได้ที่ไหนบ้าง
1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ไม่ว่ารถจดทะเบียนที่จังหวัดไหนก็สามารถจ่ายภาษีรถยนต์ได้ทั้งหมด)
2. ที่ทำการไปรษณีย์
3. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
4. การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ (www.eservice.dlt.go.th)
5. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ชอปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru For Tax)
6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
7. จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษีรถยนต์ (Drive Thru For Tax)
8. ใช้บริการผ่านสถานที่ตรวจสอบสภาพรถยนต์และต่อภาษีรถยนต์ โดยจะมีค่าบริการอยู่ที่ 200-300 บาท ต่อคัน
 

หากขาดต่อภาษีรถยนต์จะเป็นอย่างไร ?

1. รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 3 ปี ในกรณีที่รถยนต์ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 3 ปี

ทะเบียนจะยังไม่ถูกยกเลิกและสามารถไปเสียค่าภาษีรถยนต์และต่อทะเบียนได้ตามปกติ และมีค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1% 

2. รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไป สำหรับกรณีที่รถยนต์ขาดต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องทำการจดทะเบียนใหม่เท่านั้น
เนื่องจากป้ายทะเบียนได้ถูกระงับการใช้งานไปแล้ว โดยเจ้าของรถจะต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนและเล่มทะเบียนรถไปคืนให้กับทางกรมขนส่งทางบก
ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่โดนยกเลิกทะเบียน หากไม่นำไปคืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท แล้วจึงจะสามารถต่อทะเบียนและภาษีรถยนต์ได้
ตามปกติพร้อมทั้งเสียค่าปรับภาษีรถยนต์ย้อนหลังเช่นเดียวกัน